
เป็นเลนส์ที่ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากระยะ flange back ของเลนส์ในระบบ Micro Four-Thirds มีระยะที่สั้น (สั้นกว่าเลนส์ในระบบ Four-Thirds ประมาณ 50%) บวกกับดีไซน์กลไกของเลนส์แบบเลื่อนเข้า-ออกได้ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ Zuiko Digital ED 9-18mm F4.0-5.6 เลนส์รุ่นนี้มีขนาดเล็กกว่า 50% และน้ำหนักที่เบากว่า 60% เรียกได้ว่านี่คือเลนส์ที่มีน้ำหนักเบา และขนาดกะทัดรัดในแบบที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน.
โอลิมปัสได้พัฒนาเลนส์ให้มีขนาดสุดกะทัดรัด และน้ำหนักเบา ด้วยประสบการณ์ในด้านการออกแบบเลนส์, ระบบการประมวลผล, การผลิต และการวัดผลมาอย่างยาวนานหลายปี.
เลนส์รุ่นนี้ทำงานโดยใช้เลนส์ dual DSA ชนิดแรกของโลก เพื่อให้ได้ภาพถ่ายคุณภาพสูงโดยยังขนาดที่กะทัดรัดของตัวเลนส์ จึงออกแบบมาด้วยแนวคิดดีไซน์ของเลนส์ในอุดมคติ ซึ่งมีการใช้ 2 ชิ้นเลนส์ DSA (Dual Super Aspherical) ในการจับภาพมุมกว้าง 100° และเลนส์ dual aspherical เพื่อการแก้ไขปัญหาความคลาดในลักษณะต่างๆ ของเลนส์.
โอลิมปัสเป็นบริษัทแรกของโลกที่สามารถผลิตเลนส์ Dual Super Aspherical ในระดับอุตสาหกรรม เลนส์นี้มีอัตราความหนาของระหว่างบริเวณศูนย์กลางกับขอบของเลนส์ที่สูงมาก .
เลนส์นี้มีคุณสมบัติการหักเหของแสงสูง พร้อมการแก้ไขความคลาดทรงกลมของเลนส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อใช้งานร่วมกับเลนส์ ED จะสามารถลดความคลาดสี/ความคลาดทรงกลมของเลนส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
ข้อกำหนดต่างๆ ของการออกแบบเลนส์ชั้นสูง ต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่มีความแม่นยำสูง โอลิมปัสได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต (thermoforming) สำหรับเลนส์ DSA ที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่ เพื่อการสร้างสรรค์เลนส์ด้วยวิธีการหล่อชิ้นเลนส์จากแม่พิมพ์แก้วที่เป็นแบบ Aspheric .
เทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำมาใช้กับเลนส์ Zuiko Digital ED 9-18mm F4.0-5.6 โอลิมปัสคือบริษัทเดียวที่มีเทคโนโลยีการผลิตประเภทอัดขึ้นรูปพลาสติกแผ่น (Thermoforming) ที่มีความแม่นยำสูง สำหรับเลนส์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่า 30 มม..
นี่เป็นครั้งแรกที่โอลิมปัสได้สร้างเลนส์ชิ้นเลนส์ด้วยวิธีการหล่อชิ้นเลนส์จากแม่พิมพ์แก้วที่เป็นแบบ Aspheric ด้วยความเป็นรูปทรงของชิ้นเลนส์ Aspherical ซึ่งส่วนโค้งของขอบเลนส์มีความแข็งแรง ทำให้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีการขึ้นรูปชั้นสูง นอกจากนี้การปรับดุลของพื้นผิวเลนส์ยังได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการปรับดุลที่ระดับไมครอน.
เทคโนโลยีการผลิตเลนส์ที่มีความล้ำหน้าสูงต้องอาศัยเทคโนโลยีการวัดที่มีความแม่นยำสูงเช่นกัน เพื่อให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดในการออกแบบเลนส์ เราจึงใช้เทคโนโลยีการวัดรูปทรงสำหรับเลนส์ DSA และเทคโนโลยีการปรับความเยื้องศูนย์กลางของพื้นผิวเลนส์ .
แกนแนวตั้งจะแสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดของการผลิตที่มาจากค่าต่างๆ ในการออกแบบรูปทรงของเลนส์ aspherical เราประสบความสำเร็จในด้านการควบคุมรูปทรงตรงส่วนที่มีรูปทรงคล้ายก้นกระทะเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพของเลนส์ตรงตามที่ต้องการ เราสามารถควบคุมความแม่นยำของรูปทรงได้ที่ระดับ 0.1μm (1/10000mm) หรือน้อยกว่า.
ความต่างของมุมระหว่างแกน optical axis ของพื้นผิวทางด้านซ้าย (สีแดง) และของพื้นผิวทางด้านขวา (สีน้ำเงิน) เรียกว่า ความเยื้องศูนย์กลางของพื้นผิว เราได้พัฒนาระบบหล่อชิ้นเลนส์จากแม่พิมพ์ ที่สามารถควบคุมความสัมพันธ์เชิงตำแหน่งของแม่พิมพ์ที่ใช้ในการขึ้นรูปทั้งสองด้านของเลนส์ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นการการันตีถึงคุณภาพของเลนส์จากโอลิมปัส.
โอลิมปัสได้มีการปรับปรุงระบบการโฟกัสภายในของเลนส์ชนิดถอดเปลี่ยนได้ที่ได้นำมาปรับใช้โดยกล้อง SLR ทั่วไป ได้มีการปรับใช้กลไกแบบสกรูไดร์ฟสำหรับเป็นวิธีการขับเคลื่อนการทำงาน เพื่อให้การโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็ว, ลื่นไหล, มีความแม่นยำสูง การออกแบบเลนส์ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดนี้ ทำให้จำนวนชิ้นเลนส์ที่ใช้สำหรับการโฟกัสมีจำนวนที่น้อยที่สุด เลนส์ที่ได้จึงมีน้ำหนักเบายิ่งขึ้น ซึ่งในตัวเลนส์ ED 9-18mm F4.0-5.6 มีการใช้เลนส์ชิ้นเดียวที่มีน้ำหนักเบาสำหรับการโฟกัส.
ส่วนของเฟืองได้ถูกตัดออกไป เพื่อลดเสียงรบกวนขณะทำงาน แกนโลหะที่มีความแม่นยำระดับซับไมครอน (เพลา) ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการขับเคลื่อนโดยตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพของเลนส์โฟกัสที่มีน้ำหนักเบา ทำให้ได้ระบบออโต้โฟกัสที่มีความรวดเร็ว และทำงานเงียบยิ่งขึ้น.